Blockchain บล็อกเชน คืออะไร?

Blockchain บล็อกเชน คืออะไร? Blockchain หากอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ลองนึกภาพว่ามันเป็นเสมือนโซ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกระจายข้อมูลเก็บไว้ในชิ้นส่วนโซ่ที่ต่อกัน แต่ข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ เรียกได้ว่า Blockchain เป็นอินเตอร์เน็ตในรูปแบบใหม่โดยเริ่มแรกถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างสกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) เช่นBitcoin อย่างไรก็ตามในตอนนี้เทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ณ ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้นำศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของตนอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ลอกนึกภาพของเอกสารฉบับหนึ่งที่ถูกคัดลอกเป็นพัน ๆ ครั้งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากนั้นลองจินตนาการว่าเครือข่ายดังกล่าวถูกออกแบบมาให้อัพเดทข้อมูลในเอกสารดังกล่าวอยู่ตลอด เช่นเดียวกับการทำงานของ Blockchain โดยพื้นฐานก็เป็นเช่นนี้

ข้อมูลที่อยู่บน Blockchain จะสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ฐานข้อมูลของ Blockchain จะไม่ได้ถูกเก็บไว้ในที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หมายความว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกบน Blockchain จะถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะและสามารถถูกเข้ามาตรวจสอบได้ ข้อมูลเหล่านี้จะไม่มีส่วนกลางเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและปกป้อง ดังนั้นนักแฮ็คจะไม่สามารถเข้ามาแฮ็คข้อมูลนี้ได้ เนื่องจากว่าไม่มีจุดศูนย์กลางให้โจมตี นั่นหมายความว่าหากพวกเขาต้องการจะแฮ็คเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น พวกเขาจะต้องโจมตีฐานข้อมูลที่ถูกกระจายออกไปทั้งหมดในเวลาพร้อมกัน อีกทั้งคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องหลายล้านเครื่องจะเข้ามาดูแลข้อมูลดังกล่าวทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้หมด

หากเปรียบเทียบ Blockchain เป็น Google Docs
หลักการทำงานพื้นฐานของ Google Docs หากอธิบายแบบง่าย ๆ คือการที่เราทำงานที่ต้องใช้ Microsoft Word บน Google Document และสามารถกดแชร์งานที่เราทำอยู่นี้ให้ผู้อื่นเข้ามาทำการตรวจสอบได้ ปัญหาคือคุณต้องรอจนกว่าอีกฝ่ายจะส่งเอกสารมาก่อนที่คุณจะเข้ามาทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือตรวจสอบเอกสารนี้ได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้กดปุ่มแชร์เอกสารจนกว่าเขาจะทำงานนั้นเสร็จ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายนี้จะไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเอกสารได้พร้อม ๆ กันตราบใดที่มีฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้กดปุ่มแชร์ ซึ่งกลไกการทำงานนี้ก็เหมือนกับการทำงานของธนาคารในการเก็บและถ่ายโอนเงินกล่าวคือทางธนาคารจะล็อคการเข้าถึงไว้และเมื่อต้องถ่ายโอนเงินก็จะเปิดให้เข้าถึงข้อมูลได้

หากเปรียบเทียบ Google Document กับบัญชีกระจายข้อมูล (Shared Ledger) ผู้ใช้งาน Google Docs จะสามารถเข้ามาทำงานในเอกสารพร้อม ๆ กันได้ถ้ามีการกดแชร์เอกสารทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของเอกสารนี้ทุกอย่างทั้งก่อนแก้ไขและหลังการแก้ไขเอกสารนี้ซึ่งก็เหมือนกับการกระจายข้อมูลและเมื่อเราได้เผยแพร่ข้อมูลเป็นการทั่วไปให้กลุ่มคนจำนวนมากเข้าถึงได้มันก็จะกลายเป็น Distributed Ledger (การกระจายข้อมูลเป็นการทั่วไป)

ใครที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ?
ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมทางการเงินดูเหมือนจะเป็นผู้ที่นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้มากที่สุด โดยเฉพาะกับเรื่องการโอนเงินข้ามประเทศ ทำให้ตอนนี้นักพัฒนา Blockchain เป็นที่ต้องการในตลาดโลกเป็นอย่างมาก

การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ทำให้สามารถตัดคนกลางสำหรับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ออกไปได้ ลองนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายมากขึ้นในปัจจุบันด้วยนวัตกรรม Graphical User Interface (GUI) ซึ่งหากนำ GUI มาเปรียบกับโลกของ Bitcoin นั้น มันก็คือกระเป๋า ( wallet) ที่เอาไว้เก็บเหรียญ Bitcoin และ cryptocurrency อื่น ๆ เพื่อโอน หรือนำไปใช้ซื้อของ

การทำธุรกรรมออนไลน์จะต้องมีการยืนยันตัวตนซึ่งในอนาคต wallet apps อาจมีการจัดการเกี่ยวกับการยืนยันตัวตนในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย