ควรสังเกตให้ดี ภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารสายยาง

ควรสังเกตให้ดี ภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารสายยาง อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า ผู้ป่วยนอนติดเตียง จะไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ สารอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่ ก็อาจจะทำให้สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยอาจจะเกิดปัญหาได้ไม่มากก็น้อย

การให้อาหารผู้ป่วยที่นอนติดเตียงทางสายยางจึงเป็นวิธีที่สามารถทำได้ดีที่สุด แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงหลายๆส่วน เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ และสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยไปด้วยในตัว

โดยการคำนวนปริมาณอาหารให้สมดุลและโภชนาการที่ครบตามหลักการแพทย์ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่ดี วิตามินเกลือแร่ ที่จำเป็นต่อสุขภาพร่างกายจึงถือว่าเป็นหนึ่งส่วนในสิ่งสำคัญ รวมถึงความสะอาดทั้งอาหารและอุปกรณ์ก็สำคัญเช่นกัน

เป็นบริษัทที่ให้บริการงานสนับสนุนต่างๆในโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานสากล งานทางด้านอาหารในกลุ่มโรงพยาบาลชั้นนำภายใต้มาตรฐานระดับโลก เราเป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่ายอาหารสายยางที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และเราคำนึงถึงผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา เพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงอยู่เสมอ

โดยสิ่งที่อยากจะแนะนำในวันนี้ก็คือการสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารทางสาย ซึ่งหลายๆท่านที่ดูแลผู้ป่วยอาจจะเคยพบเจอบ้าง ซึ่งทุกท่านที่ดูแลผู้ป่วยควรมีความเข้าใจด้านพื้นฐานตรงนี้อย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยนั่นเอง

สักเกตให้ดี 6 ข้อ ภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารทางสายยางผิดพลาด

1. ปลายสายให้อาหารเลื่อนออก มาอยู่ในหลอดอาหาร หรือเข้าไปในหลอดลม

ถือว่าเป็นหนึ่งในข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง หากว่าไม่ได้ทดสอบปลายสายยางก่อนให้อาหาร โดยอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่อาหารเข้าไปในหลอดลม ส่งผลให้เกิดอาการสำลักหรืออาเจียนได้ ซึ่งส่งผลเสียอย่างมากและรุนแรงต่อตัวผู้ป่วย

2. หากผู้ป่วยอาเจียน

หากว่าผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยางเกิดการอาเจียน สิ่งที่ควรรู้ว่าภาวะแบบนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นอาจจะมีการผิดพลาดทางใดทางหนึ่งดังต่อไปนี้

– ปลายสายอาหารเลื่อนผิดจุดไปอยู่ในหลอดอาหาร

– เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหาร เนื่องจากการให้อาหารผู้ป่วยรวดเร็วเกินไป

– มีลมเข้าไปในขณะที่กำลังให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง ส่งผลให้เกิดการท้องอืด ผลสุดท้ายผู้ป่วยจะเกิดการอาเจียนออกมาได้

– การจัดท่าที่ไม่เหมาะสมในการให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง ซึ่งท่าที่ควรจะเป็นคือ อยู่ในท่าศีรษะสูง

3. ผู้ป่วยท้องเสีย

สาเหตุเบื้องต้นที่ควรจะทราบหากว่าผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยางเริ่มมีอาการท้องเสียอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

– หากว่าอาหารมีส่วนผสมของนม แต่ผู้ป่วยไม่มีน้ำย่อยสำหรับในการย่อยนม ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องเสีย

– อาหารปั่นผสมที่มีความเข้มข้นมากจนเกินไป จะทำให้ดึงน้ำออกมาอยู่ในลำไส้ใหญ่มากจนเกินไป และเกิดอาหารท้องเสีย

– อาหารปั่นผสมที่ไม่สะอาดพอ มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดจากการเก็บอาหารปั่นผสมที่ไม่ถูกต้อง

– ปัญหาการให้อาหารปั่นผสมที่เร็วเกินไป ทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึม

4. ผู้ป่วยท้องผูก

อาการท้องผูกในผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ได้รับสารอาหารจำพวกใยอาหารน้อยเกินไป หรือได้รับน้ำที่ไม่เพียงพอ

5. ภาวะขาดน้ำในผู้ป่วย

ต้องบอกเลยว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะประสบปัญหา dehydration ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถบอกได้ว่าร่างกายกำลังต้องการน้ำ หรือร่างกายกำลังขาดน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากๆ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ โดยให้พยายามสังเกตที่ผิวหนังของผู้ป่วย และประเมินจากจำนวนน้ำและของเหลวที่ผู้ป่วยได้รับเทียบกับปริมาณน้ำที่ถูกขับออกจากร่างกาย

6. ผู้ป่วยเกิดภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ

ปัญหานี้เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสูตรอาหารที่ไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ Hyponatremia หรือที่เรียกว่าภาวะขาดโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ

ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปคือ ท่านควรเลือกบริษัทผู้ผลิตที่มีความชำนาญและน่าเชื่อถือ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยที่ท่านรักต้องเสี่ยงกับปัญหาเหล่านี้