แนวทางการรับประทานอาหารผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

แนวทางการรับประทานอาหารผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยติดเตียง การรับประทานอาหาร เป็นเรื่องที่สำคัญของการดำรงค์ชีวิตอยู่ของเราไม่แม้แต่ผู้ป่วยติดเตียงก็ต้องการสารอาหารเพื่อไปฟื้นฟูร่างกาย สำหรับในทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยติดเตียงคือ ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานและตลอดเวลา หรือบางกรณีอาจจะขยับตัวได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาการป่วยติดเตียงนั้นมีสาเหตุมากมายที่จะทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาหรือเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั่นเอง

ซึ่งสาเหตุหลักๆก็มาจากภาวะการเจ็บป่วยจากการเป็นโรคหรือประสบอุบัติเหตุ รวมไปถึงการผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียง อาจจะมีทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ การนอนติดเตียงนี้เองก็ยังเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงตามมามากมาย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ การเกิดภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง รวมไปถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ แต่สำหรับผู้ป่วยติดเตียงนั้นบางราย อาจจะต้องได้รับอาหารทางสายยาง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และช่วยป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยติดเตียง

เราจะมาแนะนำแนวทางการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงว่าควรที่จะรับประทานอาหารประเภทใดรวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตว่าควรใช้ชีวิตอย่างไร

สำหรับผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลจะต้องมีความเอาใจใส่ในการดูแลผู้ป่วยให้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยที่นอนติดเตียงนั้นไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และการฟื้นฟูสมรรถภาพต่างๆให้กับผู้ป่วยติดเตียง ก็มีวิธีการดูแลรวมไปถึงการป้องกันจากการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา สำหรับเรื่องอาหารการกินของผู้ป่วย จะต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากผู้ป่วยที่นอนติดเตียง หากนอนรับประทานอาหาร อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหารได้และที่แย่ไปกว่านั้นก็คืออาจจะทำให้เศษอาหารหลุดเข้าไปในหลอดลมจนส่งผลให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ หรือเศษอาหารมีชิ้นใหญ่ อาจทำให้ไปอุดตันหลอดลมจนกระทั่งขาดอากาศหายใจได้เลยทีเดียว

เพราะฉะนั้น ผู้ดูแลจะต้องมีวิธีการดูแลเอาใจใส่ คอยสังเกตุอาการผู้ป่วยให้มากเป็นพิเศษ หรืออาจจะใช้วิธีการให้อาหารทางสายยาง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ แต่การให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างการให้อาหารทางสายยาง รวมไปถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา สิ่งที่ต้องดูแลให้มากเป็นพิเศษก็คือควรระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสำลัก ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงและพยายามให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้ป่วยได้นั่งอยู่ในท่าเดิมเพื่อให้อาหารได้ย่อยประมาณ 1-2 ชั่วโมงแล้วค่อยนอนลง อย่างไรก็ตาม แนวทางการรับประทานอาหารของผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อนที่สามารถย่อยง่ายและทำให้ผู้ป่วยสามารถกลืนได้อย่างสะดวก เพื่อป้องกันการเกิดการสำลักอาหาร และที่สำคัญที่สุด หากผู้ป่วยต้องให้อาหารทางสายยางในเรื่องของความสะอาด ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ดูแลจะต้องทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆในการให้อาหารทางสายางอย่างสะอาด เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมที่จะให้อาหารทางสายยาง รวมไปถึงอาหารที่จะนำมาให้ผู้ป่วยจะต้องมีความสะอาดปลอดภัยและที่สำคัญควรผ่านการออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและถ้าหากผู้ป่วยมีโรคอื่นๆร่วมด้วย ก็จะสามารถให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ปลอดภัยกับโรคด้วย

สำหรับการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยติดเตียงเราจะมาพูดถึงอาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุรวมไปถึงผู้ป่วยติดเตียงด้วย สำหรับผู้ป่วยหากต้องรับประทานเนื้อสัตว์ต่างๆ ควรอยู่ในกลุ่มโปรตีนเช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เพราะจะมีความนุ่มมากกว่าเนื้อชนิดอื่นๆ เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ง่าย กลืนอาหารได้ง่าย ป้องกันการสำลัก นอกจากนี้ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ก็สามารถรับประทานได้แต่ควรปรุงให้สุกก่อนโดยการต้มให้เปื่อยแล้วจึงนำไปให้ผู้ป่วยรับประทาน นอกจากนี้ เราควรจะประกอบอาหารโดยมีผักเป็นส่วนประกอบให้ผู้ป่วยได้รับประทานและคนมีผลไม้ด้วยในทุกๆวัน อาจจะทำโดยการปั่นเป็นน้ำผลไม้เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยได้รับวิตามินและเกลือแร่ต่างๆที่เพียงพอ รวมไปถึงผักที่เรานำมาประกอบอาหารจะต้องนำไปต้มหรือนึ่งให้สุกเสียก่อน ในการเลือกผลไม้ ผู้ดูแลควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม ง่ายต่อการบดเคี้ยวของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เช่น มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า แตงโม ส้ม แต่ถ้าเป็นผลไม้ที่มีเนื้อแข็ง เราควรนำมาเปลี่ยนเมนูอาจจะนำไปบดปั่นให้ละเอียดก่อน อาหารประเภทข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาหารที่อยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ผู้ป่วยควรได้รับในปริมาณที่พอประมาณวันละ3-4ถ้วยตวงเท่านั้น และไม่ควรรับประทานเยอะจนเกินไป และที่สำคัญผู้ป่วยควรจะดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ต่อวัน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาฟื้นฟูร่างกายได้อีกครั้ง