ทั่วโลกฉีดวัคซีนโควิดแล้ว 4 พันล้านโดส ชาติร่ำรวย-ยากจน ต่าง ‘ฟ้ากับเหว’

ทั่วโลกเร่งฉีดวัคซีนต้านโควิดแล้วนับ 4 พันล้านโดส-จีน อินเดีย และสหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ ปชช.แล้วคิดเป็น 4 ใน 10 ขณะที่การฉีดวัคซีนสู้โควิดระหว่างชาติร่ำรวยกับยากจน ยังสุดเหลื่อมล้ำ

ประจำประเทศเบลเยียมรายงานสำนักข่าวเอเอฟพี อ้างแหล่งข่าวเป็นทางการว่า ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 (Covid-19)แล้วจำนวนกว่า 4,000 ล้านโดส การฉีดวัคซีนทั่วโลกได้ชะลอตัวลงเล็กน้อย จากที่สามารถฉีดวัคซีนจำนวน 4 พันล้านโดสใน 30 วัน

วัคซีนจำนวน 4 ใน 10 โดสที่ฉีดให้แก่ประชาชนแล้ว พบว่า ฉีดในประเทศจีน จำนวน 1.6 พันล้านโดส, อินเดีย 451 ล้านโดส และสหรัฐอเมริกา 343 ล้านโดส หากทว่าเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ในประเทศที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน พบว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เป็นประเทศในตะวันออกกลางที่มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบสองโดสสูงสุดอยู่ที่ 168 โดสต่อประชากร 100 คน อุรุกวัย (137) และบาห์เรน (134) เป็นอันดับ 2 และ 3

นอกจากนั้น ประชากรในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เกือบ 70% ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ขณะที่ อุรุกวัย และบาห์เรน มีประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 เกินกว่า 60%

ลำดับถัดไปคือ กาตาร์ ชิลี และแคนาดา (129 โดสต่อ 100 คน) อิสราเอล (128) สิงคโปร์ (125) สหราชอาณาจักร มองโกเลีย และเดนมาร์ก (124) รวมถึงเบลเยียม (121) ประเทศเหล่านี้ประชากรกว่า 50% ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดส (ระหว่าง 52% ถึง 63%) จีน (111) สหรัฐอเมริกา (104) และสหภาพยุโรป (103) สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชากรเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว ขณะที่จีนไม่ได้รายงานตัวเลขนี้

หากทว่า ยังมีอีก 4 ประเทศที่ยังไม่ขยับเขยื้อนกระตุ้นให้ประชาชนฉีดวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 คือ บุรุนดี เอริเทรีย เฮติ และเกาหลีเหนือ โดยประเทศยากจนส่วนใหญ่เริ่มฉีดวัคซีนแล้วส่วนใหญ่ผ่านโครงการ Covax (โคแวกซ์) นำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับ พันธมิตร Gavi และกลุ่มพันธมิตร Cepi และการบริจาคขนาดวัคซีนที่เหลือใช้จากประเทศร่ำรวย

ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 มีความเหลื่อมล้ำมากระหว่างประเทศ “รายได้สูง” จำนวนการฉีดวัคซีนเฉลี่ย 97 โดสต่อประชากร 100 คน เทียบกับ 1.6 โดสในประเทศที่ “มีรายได้ต่ำ”

เมื่อคำนวณเฉลี่ยแล้วทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวน 52 โดสต่อประชากร 100 คน ถึงแม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ของวัคซีนแอสตราเซเนกาที่พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แต่ก็เป็นวัคซีนที่มีการกระจายอย่างกว้างขวางที่สุดหรือ 79% ของประเทศทั่วโลก อย่างน้อย 171 ประเทศจาก 217 ประเทศ